Accessibility Tools

สำนักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
Office of the Judicial Administration Commission
image

สำนักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)

สรุปสาระสำคัญระเบียบ ก.บ.ศ. หมวดการศึกษา ฝึกอบรมimage

  1) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเดินทางไปดูงาน และฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ ของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  


    - หลักเกณฑ์การเดินทางไปดูงาน และฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ ของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2561   
      กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับพิจารณาประกอบการอนุมัติให้ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเดินทางไปดูงานและฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ อันได้แก่ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับอนุมัติการทำสัญญากับสำนักงานศาลยุติธรรมและการเพิกถอนทุนกรณีเดินทางไปฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ โดยข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมอาจได้รับอนุมัติให้เดินทางไปดูงาน และฝึกอบรมณ ต่างประเทศ ได้เพียงไม่เกินปีละ 2 ครั้ง เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ของราชการศาลยุติธรรม โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของผู้มาประชุม ทั้งนี้ ไม่นับรวมการเดินทางไปดูงาน ณ ต่างประเทศของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งเป็นผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรของหน่วยงานภายนอก

 ระเบียบฉบับเต็ม >> http://ojac.coj.go.th./th/content/page/index/id/92169
44444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444

  2) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษา อาจารย์พิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2546  


    - การแต่งตั้งที่ปรึกษา อาจารย์พิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2546   
     กำหนดให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการคัดสรรบุคคลเป็นที่ปรึกษา อาจารย์พิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ศาลยุติธรรมโดยเสนอความจำเป็นในการจ้างและจำนวนของบุคคคลดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการ และเสนอรายชื่อ
พร้อมทั้งระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง อัตราค่าตอบแทน ขอบเขตหน้าที่ และรายละเอียดอื่น ตามที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดต่อคณะกรรมการบริหาร
ศาลยุติธรรม เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนมีคำสั่งแต่งตั้ง ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งแต่ละครั้งต้องไม่เกินหนึ่งปี
และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจะเริ่มปฏิบัติงานได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญากับสำนักงานศาลยุติธรรมแล้ว

 ระเบียบฉบับเต็ม >>  http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1163/iid/8218

  3) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการบริหารหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  


    - การบริหารหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2561   
      กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง คณะหนึ่งมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลให้การอบรมหลักสูตรผู้บริหาร
กระบวนการยุติธรรมระดับสูงเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการดำเนินงานของวิทยาลัยการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับ
การอบรม อนุมัติโครงการและหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง อนุมัติจำนวนและรายนามบุคคลผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการ
ยุติธรรมระดับสูง อนุมัติให้วุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการอบรม อนุมัติให้เข็มวิทยฐานะแก่ผู้สำเร็จการอบรมและบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่ศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม และกระบวนการยุติธรรมของประเทศ

 ระเบียบฉบับเต็ม >> http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1163/iid/92170

  4) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  


    - การไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553  
      กำหนดให้การให้ข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรมต้องพิจารณาถึงอัตรากำลังที่มีอยู่โดยให้มีผู้อยู่ปฏิบัติงานเพียงพอ
ไม่ให้เสียราชการและไม่ต้องตั้งอัตรากำลังเพิ่ม โดยพิจารณาถึงความจำเป็นและความต้องการของทางราชการที่จะได้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาและ
ระดับความรู้ที่เหมาะสมแก่หน้าที่ที่กำหนด ซึ่งต้องกำหนดโครงการศึกษาหรือฝึกอบรมและแผนงานหรือโครงการที่จะให้ข้าราชการผู้นั้นกลับมาปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า
เป็นการแน่นอนและสาขาวิชาและระดับความรู้ที่จะให้ข้าราชการไปศึกษา ณ ต่างประเทศนั้นต้องเป็นสาขาและระดับที่ทางราชการต้องการมากซึ่งไม่มีการศึกษา
ในประเทศหรือมีแต่ยังไม่เพียงพอหรือไม่สูงพอ ซึ่งโดยปกติจะให้ไปศึกษาได้เฉพาะในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีและไม่สูงกว่าระดับปริญญาโท

 ระเบียบฉบับเต็ม >>  http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1163/iid/92171

  5) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยคณะกรรมการอบรมและพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  


    - คณะกรรมการอบรมและพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2562  
      กำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการจัดการอบรมและพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรมตามที่คณะกรรมการอบรมและพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรมกำหนด
ซึ่งคณะกรรมการอบรมและพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรมท้ายระเบียบนี้ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับหลักสูตรและแผนการพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรม
และคณะกรรมการอำนวยการอบรมและพัฒนาข้าราชการ ศาลยุติธรรมประจำหลักสูตร

 ระเบียบฉบับเต็ม >>  http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1163/iid/8214

  6) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมความรู้ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


    - หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมความรู้ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562  
      กำหนดให้ศาลแรงงานกลางหรือศาลแรงงานภาคดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้พิพากษาสมทบที่จะเข้ารับตำแหน่งในศาลแรงงานกลางหรือ
ศาลแรงงานภาค แล้วแต่กรณี ตามหลักสูตรที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดโดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการอบรมความรู้
ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลางและศาลแรงงานภาคคณะหนึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาสมทบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย    
และมีประสิทธิภาพ กำหนดวัน เวลา สถานที่อบรม และกำหนดวิทยากรในการอบรมความรู้ แก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงหัวข้อวิชาการอบรมหรือเวลาในหัวข้อวิชา
การอบรมได้ตามความจำเป็น ประเมินผลการอบรมตามเงื่อนไขการอบรมในหลักสูตรแล้วสรุปผลการอบรม และรายงานพร้อมแจ้งความเห็นไปยังเลขาธิการสำนักงาน
ศาลยุติธรรม เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม และคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทราบต่อไป

 ระเบียบฉบับเต็ม >>  http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1163/iid/123168

  7) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความเหมาะสมในระหว่างการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาประจำศาล พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 


    - หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความเหมาะสมในระหว่างการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาประจำศาล พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560  
      กำหนดให้มีคณะกรรมการประเมินความเหมาะสมในระหว่างการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาประจำศาลแต่ละรุ่นคณะหนึ่ง โดยการประเมินมี 2 ลักษณะ คือ
1.ประเมินการปฏิบัติงาน จริยธรรม และคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้พิพากษาประจำศาล
2. ประเมินจากการปฏิบัติงานจากการตรวจสำนวนคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้พิพากษาประจำศาลตามจำนวนที่คณะกรรมการเห็นสมควร โดยจะต้องได้รับการประเมิน
ความเหมาะสมในระหว่างการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล ปีละ 2 ครั้ง และให้คณะกรรมการเสนอความเห็นต่อ ก.บ.ศ. พร้อมข้อมูลที่ได้จากการประเมินทั้งหมด

 ระเบียบฉบับเต็ม >>  http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1163/iid/8212