สำนักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
สรุปสาระสำคัญระเบียบ ก.บ.ศ. หมวดทั่วไป
3/03/2563
2,009
|
1) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา พ.ศ. 2560 |
- การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา พ.ศ. 2560
กำหนดให้คดีอาญาที่อาจไกล่เกลี่ยได้ตามระเบียบนี้ ได้แก่ คดีความผิดอันยอมความได้ และคดีความผิดที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องกันเอง ในคดีความผิดที่อาจไกล่เกลี่ยได้
และไม่อาจไกล่เกลี่ยได้รวมกัน หากผู้เสียหายและจำเลยมีความประสงค์จะให้ไกล่เกลี่ยเพื่อบรรเทาความเสียหาย ศาลอาจพิจารณาให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยเฉพาะความผิด
ที่อาจไกล่เกลี่ยได้ โดยกระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงเมื่อ
(1) คดีระงับไปด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(2) คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์ให้ทำการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป
(3) คู่ความไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด
(4) ผู้ประนีประนอมเห็นว่าการไกล่เกลี่ยต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
(5) ผู้รับผิดชอบราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษาที่แต่งตั้งเห็นว่าคดีไม่อาจยุติได้ด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยหรือการไกล่เกลี่ยต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีหรือ
จะเกิดความไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้ผู้ประนีประนอมที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานศาลยุติธรรมตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย มีสิทธิได้รับค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้
ระเบียบฉบับเต็ม >> http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1164/iid/8219
44444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444444
|
2) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา คู่ความ ผู้เสียหาย หรือเป็นคู่กรณี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือผู้ฟ้องคดี
อันเนื่องมาจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
- การช่วยเหลือข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา คู่ความ ผู้เสียหาย หรือเป็นคู่กรณี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือผู้ฟ้องคดีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559
กำหนดให้ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเพื่อประโยชน์ของราชการที่ออกหรือพ้นจากหน้าที่ราชการ
ไปแล้วที่ถูกกล่าวหา หรือถูกฟ้องคดีอาญาเนื่องจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่เป็นผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเลขาธิการสำนักงาน
ศาลยุติธรรมพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีนั้นเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
และสำนักงานศาลยุติธรรมมิได้เป็นคู่ความหรือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
ระเบียบฉบับเต็ม >> http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1164/iid/8222
|
3) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
- การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559
การลาทุกประเภทตามระเบียบนี้ ถ้ามีกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดเกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศษ ผู้ลาและผู้มีอำนาจพิจารณา
หรืออนุญาตจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาและการใช้อำนาจ
พิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับข้าราชการศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามตารางหมายเลข 1 ท้ายระเบียบ สำหรับการลาทุกประเภทของเลขาธิการให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณา
หรืออนุญาต ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาตามระเบียบนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจรอขออนุญาตจากผู้มีอำนาจได้ ให้ผู้ลาเสนอหรือ
จัดส่งใบลาต่อผู้มีอำนาจอนุญาตการลาชั้นเหนือขึ้นไปเพื่อพิจารณาและเมื่ออนุญาตแล้วให้แจ้งให้ผู้มีอำนาจอนุญาตตามระเบียบทราบด้วย
ระเบียบฉบับเต็ม >> http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1164/iid/8221
|
4) ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการในราชอาณาจักรของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
- การอนุมัติให้เดินทางไปราชการในราชอาณาจักรของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559
กำหนดให้ผู้มีอำนาจแต่ละกรณีพิจารณาอนุมัติการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม โดย (1) การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร
ของประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ และประธานศาลอุทธรณ์ภาคให้อยู่ในดุลพินิจของผู้เดินทางแต่ให้ประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษและประธานศาลอุทธรณ์ภาคแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานศาลฎีกาทราบด้วย (2) การเดินทางไปตรวจราชการศาลของอธิบดีผู้พิพากษาภาค
และการเดินทางไปปรึกษาข้อราชการกับอธิบดีผู้พิพากษาภาคของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ณ สถานที่ใดในเขตอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาค ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้เดินทาง แต่ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค
รายงานการเดินทางไปตรวจราชการเป็นหนังสือให้ประธานศาลฎีกาทราบด้วย
ระเบียบฉบับเต็ม >> http://ojac.coj.go.th./th/content/category/detail/id/53/cid/1164/iid/8220
|